วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ประเพณีวัฒนธรรม

 “กรือโต๊ะ” การละเล่นภาคใต้

               
            “กรือโต๊ะ” เป็นคำภาษามาลายู ใช้เรียกการละเล่นชนิดหนึ่ง ซึ่งทำจากลูกมะพร้าวแห้งกับไม้ใช้ตีให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า คำว่า “กรือโต๊ะ” ไม่มีความหมาย แต่น่าจะเป็นชื่อที่แยกเลียนเสียงการตีอุปกรณ์ไล่นกชนิดหนึ่งเมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว เดิมทีนั้นเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านโต๊ะแบ ตำบลมะรือโบออก ในจังหวัดนราธิวาส ที่คิดค้นวิธีการไล่ ไก่ เป็ด และนก ไม่ให้มากัดกินเมล็ดพันธุ์ข้าวของชาวนา โดยการขุดหลุมกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ลึก 25-30 เซนติเมตร แล้วนำไม้ไผ่ที่ผ่าครึ่งแล้วจำนวน 5 ท่อน นำมาพาดไว้บนหลุม 1 ท่อน เรียกว่า “ใบกรือโต๊ะ” ที่เหลือ 4 ท่อน นำมาปักที่ขอบด้านนอกหลุมให้ชิดกับใบกรือโต๊ะ เพื่อกันไม่ให้เคลื่อนที่ และใช้ก้านมะพร้าวเป็นไม้ตี เนื่องจากหาง่ายและให้เสียงที่ดังไปไกล ไล่นกได้ผลดี

          ต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องขยายพื้นที่ทำนาไปไกลๆ การขุดหลุมจึงกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก ที่สำคัญหากมีฝนตกก็ใช้การไม่ได้ ชาวบ้านจึงได้คิดค้นอุปกรณ์ไล่นกแบบใหม่ที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่ โดยเลียนแบบจากของเดิม มีการใช้ลูกมะพร้าวมาแทนการขุดหลุมเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน วิธีการคือ ใช้มะพร้าวที่ถูกกระรอกกัดกินเนื้อข้างในจนหมด โดยธรรมชาติแล้วกระรอกจะกัดบริเวณก้นของลูกมะพร้าวทีละนิด จนถึงเนื้อมะพร้าว แล้วกินเนื้อด้านในจนหมด จากนั้นมะพร้าวก็จะตกจากต้นเอง ชาวบ้านนำลูกมะพร้าวมาตัดก้นตรงที่กระรอกกัดกินออก โดยการตัดให้กว้างประมาณ 1 ใน 4 ของขนาดของมะพร้าว แล้วใช้รูปแบบเดียวกันกับการขุดหลุม คือ หงายส่วนที่ตัดขึ้น นำไม้ไผ่ผ่าครึ่ง 1 ท่อน มาวางพาดส่วนที่ตัดไว้ เรียกว่า “ใบกรือโต๊ะ” แล้วนำซี่ไม้ไผ่ 2 ท่อน มาผูกติดกับลูกมะพร้าวด้วยเชือกปักเป็นเสา 2 ข้าง ยึดใบกรือโต๊ะไว้ด้านใดด้านหนึ่ง ใบกรือโต๊ะอีกด้านให้เจาะรูแล้วยึดด้วยซี่ไม้ไผ่ขนาดเล็กปักไว้กับฐานรองและผูกยึดติดกับลูกมะพร้าวเช่นกัน ใช้ก้านมะพร้าวเป็นไม้ตี

          เมื่อมีการใช้กรือโต๊ะกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น และเสียงกรือโต๊ะของแต่ละคนก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (ขึ้นอยู่กับลูกมะพร้าวและไม้ไผ่) เลยมีการจัดการประชันขึ้น จนกลายเป็นการแข่งขันที่มีกฎเกณฑ์ขึ้น 2 เกณฑ์ โดยทั่วไปแล้วจะดู 2 อย่าง คือ 1) ความสวยงามในการตกแต่งกรือโต๊ะ 2) ความดังและทำนองในการทำเพลง จากนั้นกรือโต๊ะก็กลายเป็นอุปกรณ์การละเล่นชนิดหนึ่งที่นิยมเล่น และส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในงานต่างๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานมีของเล่นใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กรือโต๊ะค่อยๆ จากหายไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยากมาก

          เพื่ออนุรักษ์การละเล่นสมัยโบราณ ทางผู้ใหญ่บ้านโต๊ะแบ ม.3 ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ได้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ โดยรวบรวมผู้อาวุโสในหมู่บ้าน จัดตั้งชมรมฟื้นฟูศิลปะโบราณขึ้น ประเดิมด้วยกรือโต๊ะที่มีการเปลี่ยนจากเดิมนิดหน่อย คือ เสา ใบ และไม้ตีจังหวะทำด้วยไม้สัก

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
            กรือโต๊ะ เป็นการละเล่นชนิดหนึ่งของชาวไทยมุสลิม แหล่งที่นิยมเล่นกันมาก คือ แถบอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

            อุปกรณ์ในการละเล่นกรือโต๊ะ จะมีกรือโต๊ะซึ่งประกอบด้วย ๓ ส่วนด้วยกัน คือ ตัวกรือโต๊ะ เด๊าว์หรือใบ และไม้ตีตัวกรือโต๊ะ ทำจากไม้เนื้อแข็งที่เรียกว่า "ไม้ตาแป" จะเอาไม้ตาแปมาตากแดดให้แห้งสนิทแล้วนำมาตัดให้ได้ขนาดแล้วใช้สิวขุดให้เป็น หลุม ลักษณะของหลุมที่นิยมคือ หลุมปากแคบ และป่องตรงกลาง ภายนอกจะตกแต่งหรือกลึงอย่างสวยงามมีการทาสี สีที่นิยมทากันคือ สีฟ้า สีขาว สีเหลือง หรือทาน้ำมันชักเงาให้สวยงาม

            เด๊าว์ หรือ เรียกว่า ใบ หรือลิ้นเสียง จะทำจากไม้ตาแปที่แห้งสนิทดีเช่นเดียวกับกรือโต๊ะ กรือโต๊ะใบหนึ่ง ๆ มีเด๊าว์ ๓ อัน คือทำเป็นเสียงต่ำ เสียงกลาง และเสียงสูง อย่างละอัน ขนาดของเด๊าว์ยาวประมาณ ๒-๓ ฟุต กว้างประมาณ ๖-๘ นิ้ว ส่วนความยาวตามความชำนาญของผู้ใช้เล่น

            ไม้ตี ทำจากไม้เนื้อแข็ง ขนาดของไม้พอจับถือได้ถนัด ยาวประมาณ ๑ ฟุต ปลายด้ามที่ใช้ตี จะพันด้วยเส้นยางพาราเป็นหัวกลมขนาดโตกว่ากำปั้นเล็กน้อย

            วิธีการเล่นกรือโต๊ะ จะมีการตีกรือโต๊ะแข่งขันกันว่ากรือโต๊ะของใครจะมีเสียงดังกว่ากันและมี เสียงที่นิ่มนวลกลมกลืนกันและมีความพร้อมเพรียงกันในการตีกรือโต๊ะ

ที่มาของข้อมูล : กลองกรือโต๊ะ

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 016

 7 ตุลาคม 2564

    1 สมาชิกในกลุ่มได้มีการมอบหมายรวมกัน ทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet  โดยพูดคุยในรูปแบบของเล่มรายงาน เพื่อเก็บรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด ดังนี้  
                             1. ปกนอก ปกใน
                             2. บทคัดย่อ Abstract กิตติกรรมประกาศ
                             3. สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ
                             4. บทที่ 1 บทนำ
                             5. บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                             6.  บทที่ 3 วิธีการศึกษา
                             7. บทที่ 4 ผลการศึกษา
                             8. บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
                             9. บรรณานุกรม
                             10. ภาคผนวก
                             11. แผนการจัดการเรียนรู้


    2 เมื่อเรียบเรียงแล้วให้ทุกคนออกแบบการทำสไลด์เพื่อนำเสนองานให้อาจารย์ในสัปดาห์ถัดไป



ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 015

 

30 กันยายน 2564


    ในวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน
    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้า
ในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม


    ตรวจสอบความคืบหน้าของงานแต่ละคนที่แบ่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แลกเปลี่ยนความรู้ว่าใครไม่ถนัดในส่วนไหนเพื่อให้เพื่อนในกลุ่มช่วยๆกันสอน


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 014

 23 กันยายน 2564



    ในวันที่ 23 กันยายน 2564 อาจารย์ประกาศงดคลาสเพื่อให้นักศึกษาแต่กลุ่มของโครงงานทำรายงานในบทที่ 4 และบทที่ 5 พร้อมพัฒนาระบบ SMP ทางกลุ่มของเราก็ได้มีการประชุมและแบ่งหัวข้อหน้าที่กันทำ 
ซึ่งสรุปจากการประชุมของกลุ่มพวกเราในสัปดาห์นี้
    1.ในส่วนของเล่มรายงาน บทที่ 4 และ บทที่ 5 ซึ่งมีการแบ่งหัวข้อว่าใครรับผิดชอบในหัวข้อไหน โดยมีหัวข้อดังนี้
        1.1 บทที่ 4 (นูรฮานูรีและสานีตารับผิดชอบในบทนี้)
        1.2 บทที่ 5 มีหัวข้อย่อย ดังนี้
            - เกริ่นนำ,ขั้นตอนการศึกษา (มูฮำหมัด)
            - ความสำคัญ,สรุปผลการศึกษา (ซัลวา)
            - แนวทาง,ข้อเสนอแนะ (สุไลมาน)
    2. ในส่วนระบบ SMP ช่วยกันหาและแลกเปลี่ยนความรู้ว่าในบทเรียนนั้นจะมีหัวข้ออะไรบ้าง และจัดเรียงออกแบบระบบอย่างไร 
    จึงสรุปได้ว่า ทางกลุ่มได้จัดทำบทเรียน SMP มีบทเรียนทั้งหมด 5 บท ซึ่งสมาชิกของกลุ่มมี 5 คนโดยจะมีการแบ่งกันทำคนละละ 1 บท






ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 013

 16 กันยายน 2564

    ให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนเวลา 9.30 โดยใช้โปรแกรม Google meet ในการเข้าเรียนในวันนี้ ซึ่งวันนี้อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ให้ทุกกลุ่มนำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานและระบบ SMP

1 ความก้าวหน้าของโครงงาน การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาการคำนวณ
บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีหัวข้อย่อยดังนี้
            ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์
            ระบบอีเลิร์นนิ่ง
            ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
            เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
            งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา มีขั้นตอนการศึกษาและการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งตามขั้นตอนของ ADDIE ดังนี้
            การวิเคราะห์ (Analysis) 
            การออกแบบ (Design) 
            การพัฒนา (Development) 
            การนำไปใช้ (Implementation) 
            การประเมินผล (Evaluation)

ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหัวข้อโครงงาน ดังนี้
    กลุ่มที่ 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
    กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
    กลุ่มที่ 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6
    กลุ่มที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
    กลุ่มที่ 5 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
    กลุ่มที่ 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1







ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 012

 9 กันยายน 2564

    วันนี้อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ไม่มีการเรียนการสอน ให้แต่ละกลุ่มประชุมในการทำงานเพื่อนำเสนองานในสัปดาห์ถัดไปซึ่งทางกลุ่มเราได้มีการประชุมผ่านโปรแกรม Google meet ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมดังนี้ 
  1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเล่มรายงานและระบบ SMP 


  2 กลุ่มเราได้ร่วมกันทำสไลด์นำเสนองานของ บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา 






ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 011

 2 กันยายน 2564

    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งงานการทำงานของโครงงานและพัฒนาระบบ SMP ซึ่งทางกลุ่มเราได้มีการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google meet  ปรึกษาหารือกันว่าใครหาข้อมูลในส่วนไหน 
1 เล่มรายงาน โดยจะมีการแบ่งงาน ดังนี้
บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีหัวข้อย่อยดังนี้
            ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์ (ซัลวา)
            ระบบอีเลิร์นนิ่ง (สุไลมาน)
            ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (มูฮำหมัด)
            เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (สานีตา)
            งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (สานีตา)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา มีขั้นตอนการศึกษาและการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งตามขั้นตอนของ ADDIE ดังนี้
            การวิเคราะห์ (Analysis) 
            การออกแบบ (Design) 
            การพัฒนา (Development) 
            การนำไปใช้ (Implementation) 
            การประเมินผล (Evaluation)
ในส่วนของ บทที่ 3 (นูรฮานูรี) เป็นคนรับผิดชอบ


2 พัฒนาบทเรียน SMP https://smp.yru.ac.th/ ช่วยๆกันออกแบบต่างคนต่างแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาระบบในครั้งนี้


วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 010

 26 สิงหาคม 2564


1.ให้เตรียมข้อสอบแบบตัวเลือก (ก.ข.ค.ง.) คนละ 5 ข้อ แบบถูกผิดคนละ 5 ข้อ พรุ่งนี้ ยังไม่ต้องนำเสนอ ขอสอนปฏิบัติพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งก่อน เพราะอาทิตย์ถัดไป อาจารย์ติดภารกิจ จะได้มีทักษะไปปฏิบัตพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

2.ให้นักศึกษาทุกเข้าเรียนด้วย Google meet เวลา 9.30 น.

3. อาจารย์เริ่มสอนปฏิบัติการสาธิตผ่านเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียน E- learning  และรู้จักเครื่องมือการใช้งานเบื้องต้น


    การเรียนการสอนในรูปแบบของสาธิต การสร้างแบบทดสอบในระบบ SMP ซึ่งนักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการสร้างระบบของกลุ่มตัวเองได้อย่างง่ายขึ้น


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 009

  19 สิงหาคม 2564

1.การเรียนการสอนในวันนี้โดยใช้โปรแกรม Google meet ลิงค์ https://meet.google.com/wen-onhf-tgw พร้อมกับ login เข้าระบบอีเลิร์นนิ่ง

2.ก่อนเข้าบทเรียน ทบทวนเนื้อหาบที่ 4 เพื่อนำไปใช้ในการตอบปัญหาในกิจกรรม kahoot โดยใช้เว็บนี้ในการเข้ากิจกรรม https://kahoot.it/ 




3.วันนี้อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี จะมีการเรียนการสอนแบบปฏิบัติ โดยใช้ลิงค์ smp.yru.ac.th อาจารย์อธิบายวิธีการใช้งานพร้อมปฏิบัติตามอาจารย์เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างโครงงาน เรื่อง  การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด





ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 008

 12 สิงหาคม 2564


    วันที่ 12 สิงหาคม 2564  เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มหาลัยจึงประกาศหยุดการเรียนการสอนเป็นเวลา 1 วัน   

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 007

 5 สิงหาคม 2564


กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
    สัปดาห์วันที่ 3 สิงหาคม 2564 อาจารย์ได้มอบหมายงานแต่ละกลุ่มทำแบบฟอร์มโครงงานบทที่ 1 หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มพรีเซนบทที่ 1 ในวันที่ 5 สิงหาคม 2564 โดยใช้โปรแกรม Google meet ในการเข้าเรียนในวันนี้


    ในแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้

    กลุ่ม 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

    กลุ่ม 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

    กลุ่ม 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

    กลุ่ม 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

    กลุ่ม 5 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

    กลุ่ม 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1


วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 006

 29 กรกฎาคม 2564

1.ก่อนเข้าบทเรียนออนไลน์

        1.1อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาทบทวนความรู้จากบทเรียนเดิมบทที่ 3 เพื่อจะนำมาใช้ในการตอบคำถามเล่นเกมสะสมแต้ม โดยใช้โปรแกรม kahoot https://kahoot.it/v2/ 

        1.2ให้นักศึกษาทุกคนเข้าระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อทดลองปฏิบัติ ที่เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th  ใช้ user : รหัสประจำตัวนักศึกษา password: 12345* เพื่อเตรียมฝึกทำโครงงาน

2.อาจารย์เริ่มสอนเวลา 9.30 น. ในบทเรียนที่ 4 โดยใช้โปรแกรม google meet ในการเข้าชั้นเรียนในสัปดาห์นี้


    2.1 ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาเล่นกิจกรรมตอบคำถามบทที่ 3 เพื่อเป็นการสะสมแต้ม โดยใช้โปรแกรม kahoot


    2.2 ทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 4
    2.3 เริ่มเรียนบทเรียนออนไลน์บทที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning Courseware Development) สามารถสรุปเนื้อหาได้ ดังนี้
        2.3.1 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
        2.3.2 ADDIE e-Learning Model
            - Analyze                                                            
                • วิเคราะห์ความต้องการความจำเป็น                   
                • กำหนดงานที่ต้องทำ
                • วิเคราะห์เนื้อหา 
                • วิเคราะห์ผู้เรียน
            - Design
                • ออกแบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 
                • ออกแบบรูปแบบการ ส่งผ่าน ถ่ายทอดเนื้อหา 
                • ออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ และแบบฝึกหัด
            - Develop
                • สร้างบทเรียนต้นแบบ 
                • พัฒนาสื่อ วัสดุของ บทเรียน 
                • ตรวจสอบบทเรียน 
                • ทดสอบบทเรียนขั้นต้น (ต้นแบบ)
            - Implement
                • อบรมการใช้บทเรียน 
                • ติดตั้งบทเรียน พร้อม เผยแพร่ 
                • การสังเกต ปัญหา อุปสรรคในการใช้ 
            - Evaluate
                • ประเมินความสนใจ 
                • ประเมินความรู้ 
                • ประเมินพฤติกรรมผู้เรียน 
                • ประเมินผลของการเรียนรู้ จากบทเรียน
จากที่กล่าวมาข้างต้น ADDIE MODEL 5 ขั้น เป็นแนวทางเพื่อการออกแบบการเรียนสอนอีเลิร์นนิ่ง
    
    2.4 ให้นักศึกษาทุกคนเข้าระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อทดลองปฏิบัติ ที่เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th  ใช้ user : รหัสประจำตัวนักศึกษา password: 12345* เพื่อเตรียมฝึกทำโครงงาน
       
            - อาจารย์สอนปฏิบัติพร้อมให้นักศึกษาปฏิบัติพร้อมกัน

    2.5 อาจารย์มอบหมายให้แต่ละกลุ่มศึกษาและทำโครงงานร่วมกัน ซึ่งในโครงงานนั้นจะแบ่งทั้งหมด 5 บท อาจารย์ให้ทำบทที่ 1 บทนำ แล้วนำเสนอในสัปดาห์ที่ 5 สิงหาคม 2564


วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 005

 22 กรกฎาคม 2564

   
    มหาลัยประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่ 21-23กรกฎาคม 2564 เนื่องในวันอีฎิ้ลอัดฮาโดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนชดเชยการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป